วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำพิพากษาปราสาทพระวิหารปี 2556




คำพิพากษาปราสาทพระวิหารปี 2556
                เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร  จากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตรการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011 โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพากษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ
ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพากษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุม มองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขต และบริเวณ ดินแดน
โดยข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระ วิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่
2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา
3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นวา ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ
ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962
       1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน
       2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1
       3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแย้งกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการ ถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1
ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน
 หลังจากศาลโลกอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น ปรากฎว่านักวิชาการและสื่อมวลชนไทย ตีความกันออกเป็นหลายแนวทางไม่ตรงกัน บ้างก็ว่า 
-ศาลให้ไทย-กัมพูชา หารือกันเอง มียูเนสโก้เป็นผู้ดูแล กัมพูชายังมีอธิปไตยตามพื้นที่คำตัดสินปี 1962 ส่วนพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ศาลโลกไม่มีการพูดถึง นี้ต้องไปคุยกันเอง 
สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505/ พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6ตร.กม
-ไม่เสีย 4.6 แต่เสียประมาณ หนึ่งถึงสองตร.กม.รอบปราสาท ไม่เสีย พนมทรัพ หรือภูมะเขือ
- ศาลยึดข้อเท็จจริงเดิมตามคำพิพากษา1962ไม่เอาข้อเท็จจริงใหม่ปน แต่เสียเปรียบที่ครั้งนี้ศาลฟันธงดินแดนที่ปราสาทอยู่เป็นของกัมพูชา
เมื่อเวลา 17.34 น. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ พร้อมด้วย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทเขาพระวิหาร 
แถลงภายหลังศาลโลกได้มีคำพิพากษาในดคีปราสาทเขาพระวิหาร โดย นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ผลคำพิพากษาของศาลโลกในวันนี้ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจของฝ่ายเราในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หน้าที่ในการชี้แจงผลการพิพากษา ตนจะมอบให้
ทูตวีระชัย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด ด้านทูตวีรชัย กล่าวว่า คำพิพากษาในวันนี้ ที่ออกมาศาลได้ชี้เป็นประเด็นต่างๆ เริ่มจาก ศาลมีอำนาจในการวินิฉัย ในคำร้องของกัมพูชาในครั้งนี้หรือไม่ ต่อมาศาลได้วินิจฉัย พื้นที่ใกล้เคียงกับตัวปราสาท ที่ศาลใช้คำเรียกว่า ตัวปราสาท นั้น จะมีตัวเขตจำกัดอย่างไร แต่ไม่ได้มีแผนที่แนบ เบื้องต้นของเรียนว่า ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้รับในพื้นที่ , 4.5, 4.6 , 4.7 ตารางกิโลเมตร หรืออะไรก็ตาม ทาง กัมพูชาไม่ได้สิ่งที่ได้เรียกร้อง พื้นที่ภูมะเขือฝ่ายกัมพูชา ก็ไม่ได้ ศาลก็ไม่ได้ ชี้ในเรื่องของเขตแดน ศาลไม่ได้ตัดสินในเรื่องของเขตแดน เว้นแต่ พื้นที่แคบมากๆ ศาลได้พยายามเน้นพื้นที่เล็กอย่างมาก ดัง นั้น พื้นที่นี้ยังคำนวณอยู่ และศาลไม่ได้ระบุว่า แผนที่ 1.200,000 เป็นส่วนหนึ่งของคำตัดสินเมื่อปี พ.ศ.2505 ตรงนี้ ตนถือว่า เป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ศาลยังแนะนำให้ ทั้งสองฝ่ายมาร่วมกันในการที่จะดูแลตัวปราสาทในฐานะเป็นมรดกโลก ซึ่งศาลแนะนำให้ร่วมมือกัน
 "พื้นที่ที่ต้องพิจารณาให้กัมพูชาเป็นพื้นที่เล็กมาก  อย่างไรก็ตาม ไทยและกัมพูชาจะต้องหารือกันต่อไป"
ประมาณ 19.30 น.วานนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม พร้อมด้วยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และทีมทนายที่ปรึกษาชาวต่างชาติ ได้ประชุมเทเลคอนเฟอเรนซ์มายังทำเนียบรัฐบาล มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศ ช่อง 11 โดยนายวีรชัย กล่าวยืนยันว่า ส่วนใหญ่คำตัดสินเป็นคุณกับประเทศไทย โดยไทยไม่ได้เสียแดนดินพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะภูมะเขือที่ศาลโลกพูดชัดเจนว่า ไม่ใช่พื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ขอให้ประชาชนมั่นใจในเรื่องนี้
"ส่วนพื้นที่ที่ต้องพิจารณาให้กัมพูชาเป็นพื้นที่เล็กมาก หรือใกล้เคียงกับพื้นที่ในมติคณะรัฐมนตรี ปี 2505 อย่างไรก็ตาม การกำหนดพื้นที่ดังกล่าว ผู้ที่กำหนดพื้นที่เป็นคู่กรณีเจรจา ที่จะหารือในกรอบคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือไทย - กัมพูชา (เจซี) กันต่อไป " นายวีรชัย กล่าว
นายวีรชัย กล่าวอีกว่า ส่วนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ขอยืนยันว่า คำตัดสินในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล เพราะศาลไม่มีอำนาจในการวินิจฉัย หากไปดูในอนุสัญญา ค.ศ.1904 และ1907 ไม่มีทางกระทบทางทะเลได้เลย ขอให้พี่น้องสบายใจได้

สุดท้าย ผมอยากฝากไปถึงคนไทยอย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองเป็นคนชนะ หรือเสียใจว่าตัวเองสูญเสียดินแดน สำหรับคำตัดสินในวันนี้ถือว่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่หากมีข้อขัดแย้งสามารถนำคำพิพากษาวันนี้ ขอยื่นตีความได้ภายใน 10 ปี แต่ต้องมีหลักฐานใหม่" นายวีรชัย กล่าวทิ้งท้าย

ใน ฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ได้ขยายความถึงแนวทางการตัดสิน 4 แนวทางตามที่มีการณ์คาดการณ์มาโดยตลอดว่า
แนวทางที่ 1 ศาล อาจจะตัดสินว่าศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือศาลมีอำนาจ แต่ไม่เหตุที่จะต้องตีความ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปอยู่ในสถานะเดิมก่อนที่จะมีการยื่นฟ้องศาลโลก
ประเด็นนี้เขาให้ความรู้เบื้องต้นว่า ศาลระหว่างประเทศไม่มีคำว่า "ยกฟ้อง" หรือ "จำหน่ายคดี" เหมือนศาลในประเทศที่อาจจะมีการยื่นฟ้องผิดศาล แต่ศาลอาจจะตัดสินว่า ตัวเองไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือมีอำนาจแต่ไม่มีเหตุที่จะต้องตีความ
แนวทางการตัดสินแบบนี้อาจทำให้สถานะกลับ ไปเหมือนตอน "ก่อนฟ้อง" คือ ไม่มีคำตอบให้ในเรื่องเขตแดน และแผนที่ โดยสองฝ่ายอาจต้องไปเจรจาตกลงกันเอาเอง
แนวทางที่ 2 ศาล อาจตัดสินว่าขอบเขตพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นไปตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา หรือใกล้เคียง
ประเด็นนี้ทูตวีรชัยยังยืนยันตามคำพูดเดิมที่เคยให้การต่อศาลว่า มีการ "ปลอมแปลงแผนที่" โดยนำเอาแผนที่หมายเลข 3 และหมายเลข 4 มาซ้อนทับกัน และเติมสีลงไปเอง
ส่วนผลของแนวทางคำตัดสินนี้อาจทำให้เขาได้พื้นที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือใกล้เคียง โดยศาลคงกำหนดบริเวณข้างเคียง ซึ่งก็คือ "เส้นเขตแดน" นั่นเอง
แนวทางที่ 3 ศาลอาจตัดสินเป็นไปตามคำร้องของฝ่ายไทย หมายถึงขอบเขตปราสาทพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อ พ.ศ.2505
ประเด็นนี้ยึดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2505 ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอไปในคดีเก่า โดยทั้งสองฝ่ายโต้แย้งกันเรื่อง "แผนที่" และ "สันปันน้ำ"

แนวทางนี้ ถ้าใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอ (เมื่อปี 2505) อาจมีพื้นที่ที่ขาดไป (ต้องคืนให้กัมพูชา) ประมาณ 0.07 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43 ไร่ (ตามแนวพื้นที่เดิม) แต่วันนี้กัมพูชาไม่ได้ขอพื้นที่เดิม แต่ขอพื้นที่ 4.5-4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
แนวทางที่ 4 คือ ศาลอาจไม่ตัดสินให้เป็นไปตามคำร้องทั้งของไทยและกัมพูชา โดยอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
ประเด็นนี้น่าจะออกไปในแนว "นามธรรม" คือ ตัดสินออกมากลางๆ หรืออาจจะตัดสินว่า คำพิพากษาปี 2505 หมายความว่าอย่างไร และให้คู่กรณีไปปรึกษาหารือกัน ซึ่งแนวทางนี้อาจเป็นประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างยิ่ง โดยอาจตัดสินว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แยกออกจากกัน หรือมีผลผูกพันกับคำพิพากษาปี 2505 หรือไม่ เป็นต้น
(ทูตวีรชัยวิเคราะห์ว่า แนวทางที่ 1 เป็นไปได้น้อยที่สุด ส่วนแนวทางที่ 2 มีความเป็นไปได้มากกว่าแนวทางที่ 1 นิดหน่อย)
อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฝ่ายไทยเห็นว่า แนวทางที่ 4 โดยให้ทั้งสองฝ่ายไปปรึกษาหารือกันมีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ในแนวทางอื่นเช่นกัน เพราะคำพิพากษาของศาลมีความยืดหยุ่น และคาดเดาได้ยากมาก
ทูตวีรชัยยังกล่าวถึงกรณีที่มีความพยายาม ชี้ให้เห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกก็ได้ โดยชี้ว่า เท่าที่ติดตามมายังไม่เคยพบข้อมูลดังกล่าว และพยายามสืบค้นอยู่ อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลโลกไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลา ซึ่งบางประเทศอาจใช้เวลานานมากในการปฏิบัติตาม แต่สุดท้ายก็ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทุกราย